The Pikulan Tree
The Genesis of Suan Sampran
This Pikulan tree is far more than a mere tree standing in Suan Sampran. It is the very point from which Suan Sampran’s story began — a tale that now stretches over six decades.
In the year 1960, or 67 years ago,
Dr. Chamnarn Yuvaboon journeyed by boat along the Tha Chin River (also known as the Nakhon Chai Si River) on an official inspection with the Governor of Nakhon Pathom Province. Along the riverbank, he came upon a Pikulan tree, toppled and leaning precariously toward the water. Moved by affection and a deep desire to preserve this tree, he chose to purchase the land upon which it stood, transforming it into a private retreat.
From that quiet personal haven bloomed a venture that would flourish into what we see today: It began with a “Rose Garden,” where fresh-cut roses were harvested each morning and sent to the White Rose shop — Bangkok’s first florist. From there, it blossomed into a thriving destination for tourism, hospitality, and a stage upon which the beauty of Thai arts and culture could be shared with the world.
On May 27, 2025, Suan Sampran, together with the Tropical Dendrochronology Laboratory of the Faculty of Forestry at Kasetsart University, carefully collected wood samples from this Pikulan tree using specialized equipment, seeking to uncover its true age.
ต้นพิกุล – ต้นกำเนิดสวนสามพราน
ต้นพิกุลต้นนี้ ไม่ได้เป็นเพียงแค่ไม้ยืนต้นธรรมดาในสวนสามพราน หากแต่เป็นจุดเริ่มต้นของสวนสามพรานที่ยาวนานกว่า 6 ทศวรรษ...
เมื่อปี พ.ศ. 2503 หรือ 67 ปีที่แล้ว ดร.ชำนาญ ยุวบูรณ์ ได้ล่องเรือตรวจราชการตามแม่น้ำท่าจีน (แม่น้ำนครชัยศรี) พร้อมผู้ว่าราชการจังหวัดนครปฐม ระหว่างทางพบต้นพิกุลล้มเอนอยู่ริมตลิ่ง และด้วยความรักและต้องการที่จะรักษาต้นไม้นี้ไว้ จึงตัดสินใจซื้อที่ดินบริเวณนั้น ทำเป็นบ้านพักส่วนตัว
จากบ้านพักส่วนตัวกลายเป็นธุรกิจท่องเที่ยวที่เติบใหญ่มาจนถึงทุกวันนี้ เริ่มจาก “สวนกุหลาบ” ตัดดอกขายในช่วงเช้าของทุกวันส่งร้านไวท์โรส (ร้านดอกไม้แห่งแรกในกรุงเทพ) สู่ธุรกิจท่องเที่ยว โรงแรม และ แหล่งแสดงศิลปวัฒนธรรมไทยอวดสู่สายตาชาวโลก (Cultural show)
พิกุลต้นเดิมยังคงยืนต้นอย่างสง่างาม และได้รับความเคารพจากพนักงานรุ่นแล้วรุ่นเล่า เพราะเปรียบเสมือน “ต้นไม้แห่งชีวิต” ที่ทำให้คนในพื้นที่และใกล้เคียงนับหลายพันคนมีงานทำ มีรายได้ และมีชีวิตที่ดีขึ้น
27 พฤษภาคม 2568 สวนสามพรานได้ร่วมมือกับ ห้องปฏิบัติการรุกขกาลวิทยาเขตร้อน คณะวนศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ เก็บตัวอย่างเนื้อไม้ของต้นพิกุล ด้วยอุปกรณ์พิเศษเพื่อนำไปวิเคราะห์หาอายุที่แท้จริง
ผลการวิเคราะห์พบว่า… “ต้นพิกุลต้นนี้มีอายุถึง 138 ปี”
นั่นหมายความว่า ต้นพิกุลเมื่อแรกพบในปี 2503 ก็มีอายุถึง 71 ปี แล้ว เรียกได้ว่าเป็น "คุณยายพิกุล" ที่ผ่านกาลเวลาอันยาวนาน และยังคงยืนหยัดเป็นสัญลักษณ์ของเจตจำนงในการอนุรักษ์ ธรรมชาติอย่างยั่งยืน